หลังกฎหมายฉบับแรกผ่าน โยอาฟ กัลแลนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูล้มเลิกการเดินหน้าผลักดันแผนปฎิรูปโดยระบุว่า เรื่องนี้กำลังบ่อนทำลายความมั่นคงและผลักให้อิสราเอลเข้าสู่กลียุค
เมื่อคืนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูประกาศปลดรัฐมนตรีรายนี้แล้ว และทำให้ประชาชนโกรธแค้นออกมาประท้วงกันมากขึ้นอีก ภาพของการประท้วงใหญ่ที่เกิดขึ้นแทบจะในทันทีที่ข่าวการปลด โยอาฟ กัลแลนท์ รัฐมนตรีกลาโหม ถูกเผยแพร่ออกมา
ตร.อิสราเอล ปราบปรามผู้ประท้วงต่อต้านการปฏิรูปศาล
อิสราเอล ชัตดาวน์ประเทศหลังสภาฯ ผ่านกม. คุ้มกันนายก
ในหลายเมืองเต็มไปด้วยประชาชนที่ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการตัดสินใจดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู
การประท้วงใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นที่นครเยรูซาเลมประชาชนนับหมื่นคนออกมาเดินตามท้องถนน ก่อนจะรวมตัวกันที่จตุรัสแห่งหนึ่ง มีการโบกธงชาติอิสราเอลพร้อมกับตะโกนคำว่าประชาธิปไตยในภาษาฮีบรู
หลายคนบอกว่า พวกเขาทำหน้าที่รับใช้ประเทศในฐานะทหารและวันนี้ทนไม่ได้ที่เห็นนายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูกำลังทำลายประชาธิปไตยและจากข้อเรียกร้องเพียงให้ยกเลิกความพยายามผลักดันแผนปฏิรูประบบยุติธรรม
เมื่อคืนนี้บรรดาผู้ที่ออกมาชุมนุมได้ยกระดับข้อเรียกร้องเป็นให้นายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูลาออกจากตำแหน่ง
อีกเมืองใหญ่ที่มีการประท้วงคือ เทลอาวีฟ ประชาชนจำนวนมากออกมารวมตัวกัน และมีหลายร้อยคนได้พยายามเดินไปขวางทางบนถนนหลวงเส้นหนึ่ง ก่อนที่ตำรวจจะเข้าสกัดด้วยการฉีดน้ำแรงดันสูงเข้าใส่
ภาพการประท้วงเหล่านี้เกิดขึ้นแทบจะในทันทีภายหลังจากนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูออกมาประกาศปลดโยอาฟ กัลแลนท์ ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม หลังจากที่เขาได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์แผนการปฎิรูประบบยุติธรรมของเนทันยาฮูอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา
หลังจากสภาได้ผ่านร่างกฎหมายฉบับแรกที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนปฎิรูปไปได้สำเร็จเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
กัลแลนท์ซึ่งยืนให้สัมภาษณ์ที่หน้าอาคารรัฐสภาบอกว่าการดึงดันผ่านกฎหมายนี้ของนายกเนทันยาฮูคือการนำอิสราเอลเข้าสู่วิกฤต เพราะความไม่พอใจและความเห็นต่างต่อเรื่องกฎหมายนี้กำลังเกิดขึ้นกับบุคลากรของกองทัพ และนั่นจะส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นสิ่งที่เนทันยาฮูควรทำคือ หยุดผลักดันแผนปฎิรูประบบยุติธรรมนี้ทันที
การประท้วงเพื่อคัดค้านการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นมานานกว่า 2 เดือนแล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่บุคคลตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลออกมาคัดค้านและเปิดหน้าชนนายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูอย่างเปิดเผย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าไม่ใช่ทุกคนในรัฐบาลที่เห็นด้วยกับแผนดังกล่าว
และการปลดคนที่ไม่เห็นด้วยออกจากตำแหน่งก็สะท้อนเช่นกันว่า เนทันยาฮูและพันธมิตรจะเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมต่อไป
แผนปฎิรูประบบยุติธรรมคืออะไร ทำไมคนจึงออกมาประท้วง สาระหลักของแผนปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมนี้คือ การเปลี่ยนแปลงอำนาจและที่มาของฝ่ายตุลาการ
ประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น เพิ่มอำนาจให้สภาสามารถลบล้างคำตัดสินของศาลได้ ในกรณีที่ผ่านเสียงข้างมากจำนวน 61 เสียงจากทั้งหมด 120 เสียง
เปลี่ยนระบบการแต่งตั้งผู้พิพากษา จากเดิมรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ผู้พิพากษาที่อยู่ในตำแหน่ง และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายนิติบัญญัติอื่นๆ เป็นผู้คัดเลือก มาเป็นวิธีการให้รัฐบาลแต่งตั้งบุคคลสาธารณะขึ้นมา 2 คนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกรรมการสรรหาผู้พิพากษา
ผู้นำของอิสราเอลเคยให้สัมภาษณ์ว่า ต้องการปฎิรูประบบยุติธรรมเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างอำนาจของฝ่ายบริหารและตุลาการ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากมองว่านี่ไม่ใช่การสร้างสมดุล แต่เป็นความพยายามลดทอนอำนาจตุลาการเพื่อช่วยให้ฝ่ายบริหารอย่างนายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูรอดพ้นจากการตรวจสอบในข้อหาคอร์รัปชัน ตลอดจนการตรวจสอบอื่นๆในอนาคต
ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกได้ว่า เป็นการทำลายประชาธิปไตย และถึงแม้จะมีการประท้วงอย่างหนักติดต่อกัน 2 เดือน แต่เมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา สภาอิสราเอลผ่านร่างกฎหมายแรกที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไปแล้ว
กฎหมายนี้คือกฎหมายที่จำกัดวิธีการถอดถอนนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านี้ อัยการและศาลสามารถยื่นเรื่องถอดถอนนายกรัฐมนตรีได้ หากเห็นว่าล้มเหลวในการทำหน้าที่
แต่กฎหมายใหม่ที่เพิ่งผ่านไปด้วยเสียงโหวต 61 ต่อ 47 เสียง ฝ่ายที่มีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีได้จะเหลือเพียงฝ่ายนิติบัญญัติอย่างรัฐสภาเท่านั้น โดยการถอดถอนต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของสภา
นี่เป็นกฎหมายฉบับแรกของแผนการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและระบบตุลาการของประเทศ คาดการณ์กันว่าจะมีการผลักดันกฎหมายในลักษณะเดียวกันออกมาอีกหลายฉบับ
ในวันที่ผ่านกฎหมาย ยาอีร์ ลาปิด ผู้นำฝ่ายค้านออกมาประณามทันทีว่านี่คือการบั่นทอนประชาธิปไตย และกล่าวโจมตี ยาลีฟ เรวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมที่เป็นตัวหลักผลักดันให้ร่างกฎหมายนี้สามารถผ่านได้ในที่สุดคำพูดจาก PG SLOT สล็อตเว็บตรง
อย่างไรก็ตาม สมาชิกคนสำคัญในรัฐบาลอีกคนอย่างโยอาฟ กัลแลนท์ รัฐมนตรีกลาโหมออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยและถูกเนทันยาฮูปลดออกจากตำแหน่งในที่สุด
และการปลดคนที่ไม่เห็นด้วยออกจากตำแหน่งก็สะท้อนด้วยว่า เนทันยาฮูและพันธมิตรจะเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแผนปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมต่อไปโดยไม่ฟังเสียงคัดค้าน
ทำไมเนทันยาฮูจึงพยายามผลักดันแผนปฏิรูปนี้ทั้งๆถูกประท้วงอย่างหนัก และเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งอิสราเอล
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่า ผู้นำอิสราเอลคนนี้กำลังถูกดำเนินคดีในข้อคอรัปชั่นและติดสินบน เนทันยาฮูคือผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองของอิสราเอล เป็นนายกรัฐมนตรีที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดของประเทศ
ก่อนที่จะรับตำแหน่งเมื่อปลายปีที่แล้ว เขาเป็นนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 15 ปี คือในช่วงปี 1996 ถึงปี 1999 และในช่วงปี 2009 ถึงปี 2021
ได้รับความไว้วางใจเนื่องจากนโยบายที่เน้นความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตของชาวอิสราเอล โดยเฉพาะภัยคุกคามจากอิหร่านและกลุ่มติดอาวุธในปาเลสไตน์ที่เนทันยาฮูมองว่าต้องใช้ไม้แข็งเพราะการทูตใช้ไม่ได้ผล
อุปสรรคและความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของชีวิตการเมืองของเขาเกิดขึ้นเมื่อปี 2019 หลังจากถูกไต่สวนในข้อหาทุจริตหลายข้อหา
หนึ่งในนั้นคือคดีที่อัยการสูงสุดสั่งฟ้องในข้อหารับสินบนในรูปแบบของขวัญมูลค่าถึง 264,400 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 9 ล้านบาทจากบรรดานักธุรกิจและมหาเศรษฐีด้านโทรคมนาคมเพื่อแลกกับการออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์
นั่นเป็นการสั่งฟ้องคดีอาญาเป็นครั้งแรกกับผู้นำประเทศในระหว่างดำรงตำแหน่ง และหากตัดสินว่ามีความผิดจริง เนทันยาฮูจะถูกจำคุกสูงสุดเป็นเวลา 10 ปี การถูกตั้งข้อหาทำให้เกิดความปั่นป่วนอย่างหนักในรัฐบาล
เดือนพฤษภาคม 2021 นาฟตาลี เบนเนตต์ ผู้นำพรรคยามินาประกาศจับมือกับยาอีร์ ลาปิด ผู้นำพรรคเยช อทิด (Yesh Atid) พรรคที่มีแนวทางสายกลางเพื่อโค่นล้มเนทันยาฮู มีผลทำให้เนทันยาฮูต้องยุติบทบาทการเป็นนายกรัฐมนตรี และอิสราเอลได้รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของเบนเนตต์
แต่รัฐบาลเบนเนตต์ก็อยู่ไม่นานเนื่องจากความต่างของพรรคร่วมรัฐบาลที่มีถึง 8 พรรค และประกาศยุบสภาเมื่อเดือนมิถุนายน 2022 เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งใหม่
การเลือกตั้งที่ถูกจัดเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน พรรคลิคุดของเนทันยาฮูกวาดที่นั่งได้เสียงมากสุดในสภา เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และกลับขึ้นสู่อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
หนึ่งในภารกิจสำคัญของการการกลับขึ้นสู่อำนาจในคราวนี้คือ การปฎิรูประบบยุติธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมองว่าทำเพื่อลดทอนอำนาจของฝ่ายตุลาการเพื่อที่เขาจะได้หลุดพ้นจากการถูกดำเนินคดีและการถูกตรวจสอบในอนาคต
แผนการปฎิรูประบบยุติธรรมของเนทันยาฮูถูกคัดค้านอย่างหนักจากประชาชนที่ลงถนนประท้วงกันติดต่อกัน 2 เดือน และการประท้วงดุเดือดมากขึ้น หลังเนทันยาฮูปลดรัฐมนตรีกลาโหมที่ออกมาคัดค้านแผนปฏิรูปออกจากตำแหน่ง
นอกจากการประท้วงบนท้องถนน วันนี้นายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูยังต้องรับมือกับการประท้วงในสภาด้วย
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เกิดภาพความวุ่นวายในสภาของอิสราเอลหลังจากมีสมาชิกสภาฝ่ายค้านจำนวนหนึ่งเดินเข้าไปในห้องประชุมของคณะกรรมาธิการการกฎหมายและการยุติธรรมของสภา ซึ่งกำลังพิจารณาร่างกฎหมายที่จะตัดอำนาจของศาลในการถอดถอนนายกรัฐมนตรี ที่ผ่านวาระแรกในสภาไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
โดย สส. บางคนตะโกนใส่คณะกรรมาธิการว่า น่าละอาย ขณะที่ยาอีร์ ลาปิด ผู้นำฝ่ายค้านเปิดแถลงข่าวเรียกร้องอีกครั้ง ให้ถอนร่างกฎหมายนี้ออกจากสภา
ก่อนหน้านี้ไอแซก เฮอร์ซอก ประธานาธิบดีของอิสราเอลออกมาเรียกร้องให้เนทันยาฮูยุติแผนการปฏิรูปโดยระบุว่าเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพให้ประเทศ
ประธานาธิบดีของอิสราเอลคือตำแหน่งที่มีบทบาทด้านงานพิธีการและจะไม่ค่อยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง การออกมาพูดของเฮอร์ซอกจึงเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า แผนปฎิรูประบบยุติธรรมของเนทันยาฮูสร้างรอยร้าวให้กับสังคมอย่างมาก
ล่าสุด สหภาพแรงงานเกือบทุกแห่งของอิสราเอล ตั้งแต่สหภาพแรงงานสนามบิน องค์กรธุรกิจ ไปจนถึงแพทยสมาคมแห่งอิสราเอล ได้ออกมาประกาศนัดรวมตัวหยุดงาน เพื่อกดดันให้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเนทันยาฮู ถอนร่างกฎหมายนี้ออกจากสภา